ReadyPlanet.com


การยกเลิกการค้ำประกัน


ผู้ค้ำสามารถบอกเลิกค้ำประกันให้กับผู้กู้เดิม  ได้หรือไม่ อย่างไร

ช่วยตอบให้คลายความสงสัยได้ไหม  เพราะเนื่องจากปัจจุบันมีการกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นจริงแล้ว



ผู้ตั้งกระทู้ 1ในสมาชิก :: วันที่ลงประกาศ 2014-07-21 13:55:05 IP : 182.53.112.119


1

ความคิดเห็นที่ 1 (3704321)

           ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ๑๑ ค้ำประกัน..หมวด ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา ๖๘๐ อันว่าการค้ำประกัน  คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง  เรียกว่าผู้ค้ำประกัน  ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง  เพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น  อนึ่งสัญญาค้ำประกันนนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง  ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ(สัญญาลมปาก)  ท่านจะฟ้องร้องคดีหาได้ไม่

           สรุปความ..การค้ำประกัน  เป็นการให้สัญญาของผู้ค้ำประกันต่อเจ้าหนี้  ว่า  ถ้าลูกหนี้คนนี้ไม่ยอมชำระหนี้ข้าพเจ้าฯจะเป็นผู้รับผิดชอบการชำระหนี้นั้นเอง  โปรดให้เงินกู้แก่ผู้กู้(ลูกหนี้)โดยไวพวกข้าพเจ้า(ผู้ค้ำประกัน)จะรับผิดชอบเอง  ซึ่งการค้ำประกันจะผูกพันอายุสัญญา  จนกว่าจะมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง  เช่น  ผู้ค้ำเสียชีวิต(เล่นแรวงเลย)  เจ้าหนี้ก็จะเรียกให้ลูกหนี้หาหลักทรัพย์/ผู้ค้ำมาทดแทนให้เต็มจำนวนมูลหนี้  

           แต่กรณีที่ท่านถาม...ว่าจะขอเลิกสัญญาค้ำประกันขณะที่ลูกหนี้รายนั้นยังชำระหนี้ไม่เสร็จสิ้นได้หรือไม่  เรื่องนี้สหกรณ์ฯ(เจ้าหนี้)จะยังไม่รับรู้และจะถือสัญญาค้ำประกันเดิมไว้ก่อน  จนกว่าผู้ค้ำประกันรายนั้นจะตกลงกับผู้กู้ให้หาหลักทรัพย์/คนค้ำรายใหม่มาทดแทนตน  แล้วยื่นหลักทรัพย์หรือผู้ค้ำรายใหม่ทดแทนให้สหกรณ์ฯพิจารณาว่าทดแทนกันได้  และฉีกสัญญาเดิม  ผู้ค้ำรายนั้น(ที่ตั้งคำถาม)จึงจะไม่ผูกพันตามสัญญากู้เงิน ครับ

          นิทานเรื่องนี้...สอนให้รู้ว่า  จะค้ำประกันใครต้องรู้จักรู้ใจให้สิ้นสงสัย  เพราะเราต้องรับผิดชอบร่วมกับเขาไปตลอดสัญญา  จะทำตามอารมณ์นั้นมิได้เพราะมันไม่แน่นอน(แต่หลักฐานตามสัญญาที่ลงลายมือชื่อแน่นอนกว่า)  อารมณ์มีขึ้นมีลงวันที่ทำสัญญารักกันมาก  อยู่ๆไปงอนกันโกรธกันเกลียดกันก็ไม่อยากค้ำมัน(ผู้กู้)  วันหลังเกิดดีกันรักกันก็จะค้ำประกันอีก  อย่างนี้ระบบการค้ำประกันคงวุ่นวายน่าดู(ธนาคารเขาก็ปฏิบัติตามกฎหมายค้ำประกันเคร่งครัดเหมือนกันไม่ปฏิบัติตามอารมณ์มนุษย์ขึ้นๆลงๆ)  เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้....สาธุ  ข้ออื่นให้ผู้เกี่ยวข้องตอบมั่งนะช่วยกันตอบหน่อยครับ  สมาชิกเขาอึดอัดนะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นายเสน่ห์ มั่นทับ (sanemant-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-09-12 06:18:20 IP : 223.207.251.200


ความคิดเห็นที่ 2 (3708548)

              ส่วนตัวของผม..เป็นผู้กู้เหมือนกัน  และทำให้ผู้ค้ำประกันคลายความวิตกกังวลลงบ้าง  ด้วยวิธีดังนี้

             1. ทำประกันชีวิตเพื่อสินเชื่อเงินกู้ (ตามระเบียบของสหกรณ์ฯในส่วนที่เกินหกแสนขึ้นไป)  วงเงินสินไหม 1 ล้านบาท(กรณีเสียชีวิตแบบธรรมชาติ ถ้าเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุก็ได้รับดับเบิ้ลเป็น 2 ล้านบาท)  เบี้ยปีละประมาณ 620 บาทต่อทุนประกัน 1 แสนบาท(ถ้า 1 ล้านก็ประมาณ 6,200 บาท ต่อปี

             2. ทำ ฌกส.สมาคมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย เงินชดเชยเสียชีวิตทุกกรณี 1 ล้านบาท (เงินนี้ตกแก่ทายาทตามบันทึกมอบแก่ทายาทของเราเองว่าจะให้ใคร : แต่ก็ได้พูดคุยกับผู้รับไว้ว่าให้ชำระหนี้ให้เรียบร้อยก่อนนะเดี๋ยวตายตาไม่หลับ)  เบี้ยปีละประมาณ 4,000 บาท

             3. ทำประกันการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเท่านั้นสิทธิสมาชิก กบข. กับบริษัททิพยประกันภัย  ทุนประกัน 1 ล้านบาท  เบี้ยผู้ชายปีละ 1,200 บาท  สำหรับผู้หญิงเบี้ยแค่ปีละ 800 บาท น่าทำมากทำทิ้งไว้มา 5 ปีละยังไม่ตายซักที

             4. ทำประกันชีวิตกับบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (อันนี้ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ผมทนเพื่อนรบเร้าไม่ไหวตัดรำคาญ)  ทุุนประกัน 1 ล้านบาทเสียชีวิตทุกกรณีทำต่อเนื่อง 20 ปี(ลดภาษีได้)  เบี้ยปีละประมาณ 36,000 บาท

             5. อื่นๆอีกนะ เช่น ฌกส.กระทรวงสาธารณสุข,  ประกันชีวิตกลุ่มของกระทรวงสาธารณสุข(งานประกันเป็นเจ้าภาพ)  

             แค่นี้ผู้ค้ำประกันก็หายใจโล่งหน่อย  แต่ไม่รวมกรณีหนีหนี้นะ  ถ้าหนีหนี้ประกันไม่ได้จ่าย  จะจ่ายเฉพาะกรณีเสียชีวิต  (ไม่ต้องทำมากมายขนาดนี้ก็ได้  เอาแค่ 1-2 หรือ 1-3 ก็พอ)

ผู้แสดงความคิดเห็น สมาชิก 362 วันที่ตอบ 2014-09-19 10:17:23 IP : 223.207.250.183



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Admin by สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขพิษณุโลก จำกัด